top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนPhytoactive Laboratory

การคันจากโรคไต

อีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ป่วยโรคไตต้องเผชิญ คือเรื่องของอาการคัน ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 40-90 ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ส่งผลกระทบต่อความสุขสบายในชีวิตประจำวัน รบกวนการนอนหลับ ทำให้ต้องตื่นในเวลากลางคืน และทำให้นอนหลับยาก ไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้า และมีคุณภาพชีวิตที่ลดลง


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการคันในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย

  1. กลไกทางระบบภูมิคุ้มกัน (immune-mediated) การเพิ่มขึ้นของระดับเซลล์ภูมิคุ้มกัน เช่น T-helper 1 cellsและสารภูมิคุ้มกันต่างๆ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการคัน

  2. ภาวะผิวแห้ง (xerosis) ผิวแห้งในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย เกิดจากการลดลงของต่อมเหงื่อ และการฝ่อของต่อมไขมัน ทำให้ไม่มีการขับเหงื่อ ความชุ่มชื้นของผิวหนังชั้นสตราตัม คอร์เนียม (stratum corneum) ลดลง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาขับปัสสาวะ ส่งผลให้ผิวหนังแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการคัน

  3. ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานเกิน (hyperparathyroidism) และการเพิ่มขึ้นของระดับฮีสตามีน (increased histamine levels) ฮีสตามีนเป็นสารที่เกิดสะสมอยู่ในแมสเซลล์ (mast cell) ของร่างกาย มีผลทำให้เกิดอาการคัน

  4. โรคปลายประสาทเสื่อม (peripheral neuropathy) ภาวะยูรีเมีย (Uremia) ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ทำให้ระบบประสาทส่วนปลายทำงานผิดปกติ เกิดความผิดปกติของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงผิวหนัง และการนำสัญญาณประสาท ทำให้การรับความรู้สึกของระบบประสาทส่วนปลายลดลง และการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทซิมพาเทติกที่บริเวณผิวหนัง นำไปสู่การเกิดอาการคัน

  5. ระยะเวลาที่ได้รับการล้างไต (dialysis vintage) จากาการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลาที่มากขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับอาการคันระดับรุนแรง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องเป็นระยะเวลาที่น้อยกว่า


การจัดการอาการคันในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายโดยไม่ใช้ยา

  1. การสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี เช่นผ้าฝ้าย หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่ รัดแน่นเกินไป เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี และหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำด้วยขนสัตว์ เนื่องจากจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน

  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด อาหารร้อนจัด แอลกอฮอล์ กาแฟ เนื่องจาก มีผลท าให้หลอดเลือดขยายตัว ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคัน

  3. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่บ่อยครั้งเกินไปและการอาบน้ำร้อนนานๆ อาจจะใช้วิธีการเช็ดตัวแทนการอาบน้ำ และหลังอาบน้ำควรรีบทาครีมหรือโลชั่นทันที แต่ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นของตัวทำอิมัลชั่นและความคงตัวสูง เนื่องจากจะทำให้ผิวหนังแห้งมากขึ้น ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ เซราไมด์ ฟอสฟอลิพิด และ แอล-อาร์จินีน ที่ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของชั้นผิวหนัง และเคลือบผิวคล้ายลิพิดธรรมชาติบนผิวหนัง จะช่วยลดอาการคันได้

  4. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง มีค่า pH ที่เป็นกรด ช่วง3.8-5.5 ปราศจากส่วนผสมที่เป็นน้ำหอม และใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวในบริเวณที่จำเป็นเท่านั้น เช่น รักแร้ ขาหนีบ เพื่อป้องกันการเกิดอาการผิวแห้ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการคัน

  5. การตัดเล็บให้สั้นและรักษาความสะอาดของมือและเล็บอยู่เสมอ เมื่อมีอาการคัน ควรใช้ฝ่ามือถูบริเวณที่เกิดอาการ เพื่อลดการบาดเจ็บของผิวหนังจากการเกา

ดู 332 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

รีวิวการใช้คายูครีมในผู้สูงอายุ

รีวิวคายูครีมจากผู้ใช้จริงครับ จริงๆแล้วคายูครีมสามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะเหมาะมากกับผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุแทบทุกคนมีปัญหาผิวแห้ง...

コメント


bottom of page